นายมณฑล ภาคสุวรรณ์

เลขาธิการ กช. เร่งศึกษาข้อมูลดันเพิ่มค่าอาหารกลางวัน 100%

นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) สะท้อนปัญหาโรงเรียนเอกชนในปัจจุบัน ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีผู้ปกครองค้างชำระค่าเทอม 2-3 พันล้านบาท บางแห่งยอมเก็บครึ่งหนึ่ง บางแห่งต้องยกยอมยกค่าเทอมให้ และพยายามรักษาตัวให้รอดโดยไปกู้ยืมเงินจากสถานบันการเงินต่างๆ ส่วนรัฐบาล 4 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยให้การช่วยเหลือ

ด้านผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จะรงณรงค์ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชนที่มีกว่า 350,000 คน เลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายในการช่วยเหลือโรงเรียนเอกชน ว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนไปแล้วหลายเรื่อง ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทุกคนได้รับผลกระทบทั้งหมด

ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พยายามใช้กลไกที่มีอยู่มาช่วยเหลือโรงเรียน เช่น ให้โรงเรียนในระบบ กู้ยืมเงิน หรือ ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับโรงเรียน โดยให้กู้ยืมโรงเรียนละไม่เกิน 3 ล้านบาท พร้อมกับลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 2 ต่อปี และต้องผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 6 ปี ส่วนที่โรงเรียนเอกชนบางแห่งออกมาระบุว่า ยื่นเรื่องแล้วแต่ไม่สามารถกู้ยืมได้ เพราะการพิจารณาให้กู้ยืมนั้นทาง สช.จะพิจารณาจากความสามารถในการผ่อนชำระด้วย

นายมณฑล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สช.ได้ช่วยเหลือจัดการวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้โรงเรียนเอกชนสามารถกลับมาเปิดสอนได้โดยเร็วที่สุด พร้อมกับออกมาตรการช่วยเหลือผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาสังกัด ศธ.และนอก ศธ.ทั้งภาครัฐ และเอกชน ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้น ม.6 และอาชีวศึกษาทุกสังกัด คนละ 2,000 บาท โดยจ่ายผ่านสถานศึกษา และให้สถานศึกษาจ่ายตรงให้กับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครอง

เลขาธิการ กช. เร่งศึกษาข้อมูลดันเพิ่มค่าอาหารกลางวัน 100%

“ที่ผ่านมา ได้มีการช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง คือ ปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและเพิ่มศักยภาพของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือก โดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2566-2569 และ ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้นักเรียนชั้นเด็กเล็ก-ป.6 ตามขนาดของโรงเรียน ที่ผ่านมา สช.พยายามผลักดันให้โรงเรียนเอกชนได้รับเงินอุดหนุนอาหารกลางวัน 100% โดยในขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาศึกษาข้อมูล เพื่อผลักดันให้โรงเรียนเอกชนได้รับเงินอาหารกลางวัน 100% เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาต่อไป” นายมณฑล กล่าว

นายมณฑล กล่าวต่อว่า จากการสำรวจเบื้องต้น ในปี 2565 โรงเรียนเอกชนมีการแจ้งปิดกิจการไปแล้ว 45 แห่ง ซึ่งตนไม่มั่นใจว่าสาเหตุที่โรงเรียนปิดกิจการลงนั้น มาจากผลกระทบของโควิด-19 หรือไม่ ทั้งนี้ในปี 2565 สช.พบว่ามีโรงเรียนเอกชนแจ้งเปิดใหม่อีก 35 แห่งด้วย

อย่างไรก็ตาม สช.ทราบดีว่าโควิด-19 สร้างผลกระทบให้โรงเรียนเอกชน ซึ่งทางสช.ก็ได้หาทางช่วยเหลือมาโดยตลอด ในขณะที่โรงเรียนเอกชน ก็จะต้องสู้ และปรับคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความแตกต่างและดึงความสนใจให้มีผู้เข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นด้วย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ outerislandtours.com

แทงบอล

Releated